วัฒนธรรมท้องถิ่น
มโนราห์ เป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านของชาวใต้โดยเฉพาะ ลักษณะเป็นการร้องกลอนสดมีท่ารำที่อ่อนช้อยงดงามโดยเฉพาะท่าไหว้ครู ซึ่งถือเป็นท่ารำโบราณที่ถูกถ่ายทอดมาช้านาน ผู้ร้องจะใช้ภาษาปักษ์ใต้ มีเครื่องแต่งกาย บทร้อง ท่ารำที่เป็นเอกลักษณ์ และเครื่องดนตรีอันประกอบด้วย กลอง ทับคู่ ฉิ่ง โหม่ง ปี่ชวา และกรับ ส่วนเรื่องทีนำมาแสดงได้แก่ พระอภัยมณี สังข์ทอง จันทโครพ และอื่นๆ
หนังตะลุง การเชิดตัวหนังที่เป็นตัวละคร ตัวแสดงต่างๆ อาทิ ฤาษี เจ้าเมือง ตัวพระ ตัวนาง ตัวยักษ์และตัวตลกที่มีชื่อหนูนุ้ยกับเท่ง ซึ่งเป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านที่นิยมกันทั่วภาคใต้โดยหนังที่นำมาแกะนั้นก็เป็นหนังวัวเจาะรูเล็กๆเพื่อให้แสงผ่าน และจอเป็นสีขาว มีท่อนกล้วยวางไว้เพื่อปักตัวหนัง แสงไฟจะส่องมาจากด้านหลังเพื่อสร้างภาพปรากฏบนจอ ซึ่งนายหนังหรือผู้เชิดหนังตะลุงจะขับหรือพากษ์ไปด้วย
ลิเกป่า หรือลิเกรำมะนา ซึ่งจะต่างจากลิเกโรงทั่วไปคือไม่พิถีพิถันในเครื่องแต่งกาย มักนิยมในหมู่ชาวไทยอิสลาม ใช้ตัวละคร 3 ตัว คือ แขกอินเดียที่มาค้าขายในเมืองไทยกับเมียชาวไทยและเสนา โดยจะเป็นการเล่าเรื่องชมความงามของสถานที่ผ่านไป ซึ่งใช้เพียงแค่ฉากเดียวอแต่เปลี่ยนชื่อเท่านั้น ส่วนเครื่องดนตรีมีรำมะนา 2-3 ใบ ได้แก่ ฉิ่ง โหม่ง ฆ้อง ปี่ชวา